Designed by Octane Architect & Design (คุณธาวิน หาญบุญเศรษฐ และพาร์ทเนอร์)
PREFACE
คุณเยาว์และคุณชายได้ซื้อที่ดินแปลงนี้เก็บไว้ตั้งแต่ช่วงสร้างเนื้อสร้างตัวใหม่ๆ เมื่อธุรกิจผลิตและจำหน่ายเสื้อผ้าแฟชั่นถึงจุดที่ประสบความสำเร็จน่าพอใจจึงมีแนวคิดที่จะสร้างบ้านบนที่ดินผืนนี้ โดยมีโจทย์ให้กับสถาปนิกว่าต้องการบ้านรูปทรง Modernเรียบๆสีคุมโทน แต่ดูแปลกตาแตกต่างไม่เหมือนใคร spaceโปร่งโล่งสบายรับลมธรรมชาติ สามารถมองเห็นต้นไม้และสระว่ายน้ำได้ตลอดเวลาที่อยู่ภายในบ้าน ให้ความรู้สึกผ่อนคลายเหมือนไปพักรีสอร์ทมีระเบียงภายนอกริมสระขนาดใหญ่เหมาะแก่การจัดงานปาร์ตี้กับเพื่อนๆได้ ส่วนห้องนอนมีความต้องการให้เป็นสัดส่วนระหว่างส่วนเจ้าของบ้านที่อยู่อาศัยเป็นประจำและส่วนรับรองแขกเนื่องจากทั้งคุณเยาว์และคุณชายมีญาติอยู่ต่างจังหวัดหลายท่านและมีเพื่อนสนิทหลายกลุ่มจึงมีแขกมาเยี่ยมเยียนพักที่บ้านบ่อย นอกเหนือจากความต้องการด้านฟังก์ชั่นที่กล่าวมา ในด้านของการออกแบบสุนทรียภาพทางสถาปัตยกรรม คุณเยาว์และคุณชายให้อิสระกับสถาปนิกอย่างเต็มที่ เปิดโอกาสให้สร้างสรรค์สถาปัตยกรรมชิ้นนี้เสมือนเป็นบ้านของตัวเอง
LAYOUT PLANNING
เนื่องจากพื้นที่ใช้สอยที่เจ้าของบ้านต้องการมีพื้นที่ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของขนาดที่ดิน ถ้าเราให้ทุกส่วนของบ้านเชื่อมต่อเป็นอาคารเดียวกันหมด เราจะได้บ้านเป็นแมสขนาดใหญ่ตั้งอยู่ติดถนนและทิ้งที่ว่างด้านหลังเปล่าๆไว้ถึง 1ไร่ แม้วิธีนี้จะมีงบประมาณก่อสร้างที่ประหยัดแต่จะไม่สามารถตอบสนองความต้องการทั้งด้านฟังก์ชั่นและสุนทรียภาพของเจ้าของบ้านได้เลย เราจึงแบ่งบ้านออกเป็น 3อาคารตามการใช้งานได้แก่ ส่วนจอดรถ ,ส่วนรับรองแขก และส่วนที่อยู่อาศัยหลัก(2ชั้น) ทำให้แต่ละอาคารมีพื้นที่ใช้สอยอยู่ที่ประมาณ 120-320ตรม.ไม่ใหญ่เทอะทะสามารถแสดงภาษาได้อย่างชัดเจน โดยทั้ง3อาคารถูกจัดวางไปตามความเหมาะสมแก่การเข้าถึงและล้อมสระว่ายน้ำซึ่งเป็นใจกลางของบ้านเอาไว้เพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว ในขณะเดียวกันทำให้ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของบ้านก็จะมองเห็นสระว่ายน้ำและทัศนียภาพภายนอกของอาคารหลังอื่นๆตลอดเวลา แม้ว่าผนังด้านติดสระว่ายน้ำจะเป็นกระจกเกือบทั้งหมดแต่ทั้งอาคารส่วนรับรองแขกและอาคารส่วนที่อยู่อาศัยหลักหันไปทางทิศตะวันตกแลตะวันออกเฉียงเหนือทำให้ไม่ได้รับความร้อนจากแสงแดดช่วงบ่ายจากทิศใต้โดยตรง
CONTEXT
จากโจทย์ที่เจ้าของบ้านมอบให้เรารู้สึกว่าการออกแบบบ้านหลังนี้เป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถทางด้านความคิดสร้างสรรค์เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นบ้านที่มีข้อจำกัดทางบริบทน้อยเช่น เป็นย่านที่อยู่อาศัยใหม่ไม่มีประวัติศาสตร์หรือบริบทเชิงวัฒนธรรม,ที่ดินมีขนาดใหญ่มากเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับพื้นที่ใช้สอยและที่ดินข้างเคียงเกือบจะเป็นที่ดินเปล่าทั้งหมด ,สิ่งปลูกสร้างไม่หนาแน่นยังคงมีบรรยากาศแบบชานเมืองอยู่,งบประมาณที่เจ้าของบ้านมีเหมาะสมกับขนาดพื้นที่ใช้สอยและวัสดุคุณภาพมาตรฐาน และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือลูกค้าที่ให้ความสำคัญให้คุณค่ากับงานออกแบบ เชื่อใจสถาปนิกเปิดโอกาสให้สร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่ เราเชื่อว่างานที่ท้าท้ายความสามารถของนักออกแบบมากที่สุดคืองานที่ผู้ออกแบบมีอิสระมากที่สุดไม่ใช่งานที่มีข้อจำกัดมากที่สุด
CONCEPT
เมื่อไม่ถูกพันธนาการด้วยบริบทภายนอกแล้วเราจึงมีอิสระที่จะศึกษาและพัฒนารูปแบบทางกายภาพของสถาปัตยกรรมที่เราสนใจเป็นการส่วนตัว ซึ่งในช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมาเราเห็นว่าภาษาทางสถาปัตยกรรมที่ตกแต่งให้รูปด้านเมื่อผนังและฝ้ามาบรรจบกันมีลักษณะเข้ามุมปาดเฉียงกำลังเป็นที่นิยมอย่างยิ่งโดยเฉพาะในอาคารประเภท ตึกแถวของโครงการจัดสรรต่างๆ แต่นอกเหนือจากรูปด้านภายนอกแล้วไม่ปรากฏภาษาทางสถาปัตยกรรมนี้ภายในอาคารดั่งกล่าวเลย ที่ว่างด้านในถูกออกแบบให้เป็น ระบบฉาก-ขนานปรกติ เราจึงมีความสนใจว่าเป็นไปได้ไหมที่ภาษาลักษณะนี้จะถูกใช้ประโยชน์ในแง่มุมอื่นๆมากกว่าเป็นเพียงการตกแต่งรูปด้าน เรามองว่าถ้าอยากให้สถาปัตยกรรมแสดงภาษาออกมาได้อย่างชัดเจนที่สุดต้องเริ่มต้นตั้งแต่การออกแบบแปลนและการกำหนดรูปแบบทางโครงสร้าง เพราะเมื่อทั้ง2อย่างนี้ได้บรรลุแสดงถึงภาษาทางสถาปัตยกรรมนั้นๆอย่างชัดเจนแล้วองค์ประกอบอื่นๆเช่น พื้น ผนัง ฝ้า หลังคา รูปด้านภายนอก ที่ว่างภายใน จะปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนพร้อมกันในทันที
ภาษาทางสถาปัตยกรรมรูปแบบนี้ในอุดมคติของเราจะมี Courtyard เป็นใจกลางของอาคาร อนุญาตให้แสงแดดทะลุผ่าน ฝนตกลงมาได้ แนวผนังลากเป็นเส้นทแยงมุมเชื่อมระหว่างกรอบของอาคารและกรอบของคอร์ท โดยเช่นเดียวกันในส่วนของหลังคา กรอบของอาคารจะสูงกว่ากรอบของคอร์ททำให้น้ำจากหลังคาทั้งหมดจะตกลงมาเป็นม่านน้ำตกบริเวณคอร์ท หลังคาเกิดการเข้ามุมเป็นตะเฆ่รางตามรูปแบบของโครงสร้างโดยธรรมชาติ ระนาบของฝ้าก็ล้อขนานกับหลังคาเช่นกัน ซึ่งเราได้ใช้ภาษาทางสถาปัตยกรรมนี้กับอาคารทั้ง3ส่วนในฟังก์ชั่นที่เหมาะสมแตกต่างกัน
Project Description (English)
We received only a simple brief from the owners who gave us “a boundless freedom to design a unique house as if it were our own.” Liberated from external constraints, we were free to study and develop a style of architecture that we were personally interested in. Over the last 5-10 years, we have seen that a certain architectural language, in which the external wall and the ceiling converge into an oblique angle, is becoming popular, especially in commercial buildings of real estate projects. However, apart from being on the exterior, this architectural language never appears in the interior of those buildings which are still mostly dominated by an ordinary perpendicular and parallel layout. That being the case, we are curious to see if it is possible to apply this language to other design aspects rather than just for a decorative purpose. From our perspective, to make an architecture express the language as clearly as possible, we have to start from the plan design and the structure. Once the language has been successfully integrated into these two areas, the other elements such as the floor, the wall, the roof, the exterior, and the interior will naturally conform in unison to the style.
To achieve the ideal version of our architectural language, we need a courtyard, where sunlight is allowed to pass through and rain to fall through, as the center of the building. The diagonal wall line serves to connect the frame of the building and the frame of the courtyard, as well as the roof. With the frame of the building being higher than the frame of the courtyard, rain will fall from the roof into the courtyard like a curtain of waterfall. We complete the roof with valley rafters that naturally suit the structure. The ceiling is also parallel to the roof. We have applied this architectural language to appropriately serve different functions in the 3 main parts of the building.